ผมไม่ทราบว่าผู้ตั้งคำถามต้องการอะไรอ่านแล้วยัง งงๆ อยู่ เอ้าเป็นว่าจะใช้สมองอันน้อยนิดตอบดูนะครับว่าจะตรงประเด็นหรือไม่ คำว่า
พลศึกษา ( Physical Education ) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่นๆ อีกหลายแขนงซึ่งพลศึกษาในสมัยโบราณยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่จะแฝงอยู่ในการดำรงชีวิตปัจจุบันมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด เช่น การหาอาหาร การต่อสู้สัตว์ร้าย และภัยธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยไม่รู้สึกตัว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต และความเจริญเติบโตนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชีวิต และสังคม จนมีคำกล่าวว่า “ ผู้ให้กำเนิดชีวิต คือ การเคลื่อนไหว”
ความเป็นมา
คำว่า พลศึกษา ในสมัยกรีกโบราณ เรียกว่า ยิมนาสติก (Gymnastics) และใช้ชื่อนี้เรียกแทนกิจกรรมทุกชนิดที่ใช้สอนปฏิบัติในสถานที่ประกอบ กิจกรรมกายบริหาร (Palacestra) ต่อมาในศตวรรษที่ 17 นักการศึกษายุโรปใช้ชื่อกิจกรรมลักษณะนี้ว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหว (Motor activity programs)
ศตวรรษที่ 18-19 การศึกษายุคนี้เน้นไปทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงการฝึกให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย และจิตใจ ด้วยวิธีการฝึกอบรม คำว่า ยิมนาสติก จึงเปลี่ยนไปเป็น Physical culture การพลศึกษาสมัยนี้เป็นการฝึกให้ร่างกายมีทรวดทรง สวยงาม และร่างกายสมส่วน ผู้ที่ได้รับการศึกษาอย่างสมบูรณ์ จะต้องมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ต่อมาภายหลังการศึกษามีแนวโน้มที่จะให้ผู้เรียนได้ใช้มือในการประกอบกิจกรรม มากขึ้น เช่น การปั้น การแกะสลัก การฝีมือต่างๆ การศึกษาสมัยนี้ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มของการศึกษา และได้หันมาใช้เครื่องมือประกอบการฝึก มากขึ้นและการฝึกได้กระทำกันอย่างแพร่หลาย คำว่าพลศึกษาในสมัยนี้จึงเรียกว่า “กายบริหาร” (Physical Training) การพลศึกษาในช่วงเวลานี้ มุ่งที่จะฝึกให้มีร่างกายแข็งแรงเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่โตเป็นส่วนใหญ่
ศตวรรษที่ 20 แนวความคิดทางด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวาง และนักการศึกษาต่างมองเห็นความสำคัญของการพลศึกษา และถือว่าการพลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาซึ่งจะขาดเสียมิได้ ผู้ที่ได้รับการศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องได้รับการศึกษาครบทั้ง 4 ด้าน คือ
*พุทธิศึกษา(Head) เป็นการศึกษาทางด้านวิชาความรู้แขนงต่างๆ เช่น การคิดเลข, การอ่าน, การเขียน
**จริยศึกษา (Heard) เป็นการให้การอบรมกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
***พลศึกษา (Health) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และความแข็งแรงทางด้านร่างกาย เช่น การเรียนรู้ศิลปการต่อสู้ มวยไทย กระบี่กระบอง การฝึกระเบียบแถวของนักรบไทยสมัยโบราณ
****หัตถศึกษา (Hand) เป็นการศึกษาที่ฝึกให้เป็นผู้มีทักษะการใช้มือประดิษฐ์ สร้างสรรค์งานช่างต่างๆ เช่น การปั้น แกะสลัก การวาดเขียน หรือที่เรียกว่า ช่างสิบหมู่
พลศึกษา คือการศึกษาแขนงหนึ่งที่มีจุดหมายที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการ
ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้เลือกสรรแล้วเป็นสื่อที่ทำให้เกิด การเรียนรู้
นอกจากนั้นยังมีความสำคัญ,ขอบข่าย,วัตถุประสงค์ของพลศึกษาซึ่งกล่าวในที่นี้ไม่หมด ช่วยเปิด Web นี้อ่านต่ออีกหน่อยนะครับ
http://blog.spu.ac.th/malee/2007/12/25/entry-12
http://netapp.nbk.rmutp.ac.th/elearning/apichai2/week1.pdf
ส่วนเรื่องของครูพละมีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ ผมตอบได้เลยครับว่าตรงกันครับ ฟันธง!!! ไม่ว่าสถาบันพลศึกษาจากที่ไหนก็ตามเมื่อคุณเรียนมา 4 ปี ได้ ป.ตรี เพราะมันมาจากคำว่า Physical Education เหมือนกันงัยครับ สำหรับความเหมาะสมกับการเรียนการสอน เมื่อคุณอ่านจบทั้งหมดคุณจะได้คำตอบด้วยตัวคุณเองครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)