บุคลิกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งในด้านส่วน ตัวและอาชีพการงาน บุคลิกที่ดีเป็นที่ชื่นชอบของคนโดยทั่วไปทำให้ สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำหน้าที่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก จะต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นที่เชื่อมั่นต่อผู้ปกครอง ว่าจะสามารถดูแลบุตรธิดาแทนตนให้มีคุณภาพได้ และการเป็นผู้ที่มี บุคลิกภาพที่ดี จะทำให้เด็กรักและศรัทธาต่อผู้เลี้ยงดูเด็กด้วย ดังนั้นผู้ เลี้ยงดูเด็กจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
เพื่อความชัดเจนในสาระ ผู้เรียน ควรศึกษาสาระเพิ่มเติม ดังนี้
บุคลิกภาพคืออะไร
แนวทางในการเสริมสร้างบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพคืออะไร
บุคลิกภาพ หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป เป็น ลักษณะ รวมของบุคคลนั้นที่แสดงออก และลักษณะเฉพาะภายในของบุคคล ซึ่งทำให้บุคคลนั้น มีความแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
...... จากความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่าบุคลิกภาพเป็นแบบแผนของพฤติกรรมของ บุคคล อันเป็นผลรวมของลักษณะภายนอกและลักษณะภายในของบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นมี ลักษณะเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งทำให้เขาแตกต่างจากบุคคลอื่น
ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพ ได้แก่
1. ปัจจัยภายนอก
เป็นลักษณะพฤติกรรมภายนอกที่มองเห็นได้ เช่น รูปร่าง หน้าตา ท่าทาง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเดิน บุคคลนั้นจะมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว
2. ปัจจัยภายใน
เป็นลักษณะพฤติกรรมภายในตัวบุคคล เช่น ความคิด เจตคติ ค่านิยม เชาวปัญญา แรงจูงใจ เป็นต้น
แนวทางในการเสริมสร้างบุคลิกภาพ
จากความหมายของคำว่าบุคลิกภาพที่กล่าวมาแล้ว จะเห็น ว่าการเสริมสร้างบุคลิกภาพของ บุคคลจะต้องดำเนินไปทั้ง ในด้านที่จะตอบสนองต่อสังคม และต่อตัวบุคคลแต่ละคน ด้วย ทั้งในการเสริมสร้างบุคลิกภาพนั้นก็จำเป็นจะต้องมี กระบวนการในการเสริมสร้างด้วย
กระบวนการสร้างและเสริมบุคลิกภาพของบุคคล
ในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพของบุคคลนั้นควรที่จะต้อง แยกพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ
การสร้างบุคลิกภาพ และ การเสริมหรือปรับปรุงบุคลิกภาพ
การสร้างบุคลิกภาพ หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้เกิด บุคลิกภาพขึ้นในตัวของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเริ่ม สมมาตั้งแต่เยาว์วัย จึงจะทำให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ ของสังคมได้ สถาบันทางสังคมและการศึกษาจะต้องทำหน้า ที่รับผิดชอบในการสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)